คำถาม-คำตอบ

ประชุมวิชาการประชุมกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (DTAM Forum)

 เรื่อง ความหลากหลายการจัดการมะเร็ง

คำถาม: ในกรณีที่คุณแม่ป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ไม่ศรัทธาเรื่องพระพุทธศาสนา จะทำอย่างไรให้เปิดใจรับฟังหรือมีวิธีใดที่จะทำให้ทรมานน้อยลง ปัจจุบันคุณแม่มีอาการกระสับกระสาย กังวลใจ และใช้มอร์ฟีนจำนวนมาก

หลวงตา      ผู้ป่วยต้องเปิดใจ เพราะมันมีหนทางมากมายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ สวดมนต์ร่วมกับ รับประทานยา  

อ.ปารณัฐ     ต้องสังเกตว่า ผู้ป่วยมีอะไรที่ติดค้างในใจหรือไม่สบายใจอะไร ต้องสังเกตและคนใกล้ชิดถึงจะรู้ ช่วยปลดปล่อย  ในส่วนที่ 2 เราถึงมีศิลปะขึ้นมา ศิลปะก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งก็อาจจะเหมาะกับคนไข้บางคน ต้องมีวิธีการเข้าหา เข้าถึง เข้าใจไม่เหมือนกัน เพราะว่าอาจจะต้องใช้กระบวนการศิลปะบำบัด ในการที่จะค่อยๆ เปิดออกมา เพราะในความศรัทธาของผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกัน และพยายามให้ผู้ป่วยค่อยๆ เปิดใจ เป็นสิ่งหนึ่งทีสำคัญ บางรายจะใช้ ในลักษณะของการปั้น การปั้นบางทีมันจะทำให้คนไข้สามารถที่จะระลึกถึงตอนสมัยเด็ก ๆ ได้ปั้นดินได้ปั้นอะไรเล่นทำให้เขารู้สึกถึงความสุข หรือค่อยๆ ให้คนไข้ได้มีการถักทอเรื่องราวในชีวิตหรือปมปัญหาต่าง ๆ มันมีอะไรหลายๆ อย่างที่ซ้อนมาในศิลปะ ลักษณะของการใช้ศิลปะเป็นลักษณะที่ไม่คุกคาม ดังนั้น ผู้ป่วยจะสามารถผ่อนคลายและเปิดออกมาได้ง่าย

นพ.ธนเดช    ต้องฟังผู้ป่วยมากๆ ระหว่างคุยฟังว่าเขาคุยเรื่องอะไร สังเกตว่าคุยเรื่องนี้ทีไรยิ้มทุกครั้ง  คุยเรื่องลูกยิ้มทุกทีแสดงว่า ความสุขอยู่ที่ลูก คุยเรื่องงานจะรู้สึกเฉยๆ ไม่อยากคุยก็ไม่ต้องคุย ต้องดูว่าเขามีความสัมพันธ์อะไรที่รู้สึกว่าทำแล้วชุ่มชื่นใจ 

คำถาม: ประชาชนจะสามารถรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษามะเร็ง ได้ที่ไหนบ้าง

นพ.พรเลิศ    ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย สามารถที่จะบอกทางโรงพยาบาล ว่าอยากปรึกษาเรื่องเกี่ยวการประคับประคอง ขอให้มาช่วยแนะนำว่าทำอย่างไร ตอนนี้มีทุกโรงพยาบาล เพราะถือว่าเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข พยาบาลก็สามารถจะเชื่อมโยงได้ว่า คนไข้คนนี้เหมาะสมได้รับการดูแลแบบแพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน แผนตะวันตกหรือจะดูแลทางศาสนา คือ ผ่านการประเมิน

อ.ปารณัฐ     ตอนนี้นโยบายกระทรวงสาธารณสุขก็เห็นด้วยกับว่า การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองมีความสำคัญ ฉะนั้น หน่วยงานบริการของรัฐ บุคลากร ก็ได้มีการฝึกอบรม แพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขจะเป็นตัวกลาง ช่วยพูดคุยสื่อสารทำความเข้าใจได้

 หลวงตา     ที่สำคัญต้องคิดบวก ต้องภูมิใจที่ได้เป็นมะเร็ง แล้วจะได้พลังจากการคิดบวก ถ้าคิดท้อถอย  แม่เป็นคนเดียวลูกอีกสามสี่คนเป็นตาม อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ลูกต้องมีพลังที่จะไปช่วยแม่ มะเร็งเป็นแค่ factor หนึ่ง ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตแล้วเราไปสร้างเงื่อนไขให้มันดูยิ่งใหญ่โตมโหฬาร ที่จริงมันอยู่ที่ใจที่เราสะกิดมันออกไป มะเร็งพอสะกิดใจออกจากมะเร็งได้โรคมันก็จะปิดไปเอง แม้ความตายยังไม่น่ากลัวเลยแค่ไม่หายใจเท่านั้นเอง

 

คำถาม: ตอนนี้ที่วัดธรรมประมง มีอาหารอะไรที่รับประทานได้สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง และมีข้อห้ามอะไร

หลวงตา      เรื่องมะเร็งกับอาหารมันไม่ถูกกัน เพราะถ้าผู้ป่วยไปรับประทานอาหารแสลง อาหารจะกระตุ้นเซลล์มะเร็ง ในห้องทดลองเราหยอดโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์เซลล์มะเร็งจะกระจายเร็วมาก อาหารสำคัญ อาหารกับมะเร็งมันเป็นตัวกระตุ้นกัน ซึ่งความคิดอาจจะแย้งกับทางแพทย์ตะวันตกอยู่บ้าง  จากประสบการณ์หลวงตา ผู้ป่วยมะเร็งเมื่อพอแข็งแรง ออกจากวัดไปคิดว่าตัวเองแข็งแรงดี รับประทานอาหารทุกอย่าง กลับกลายเป็นว่าทุกวันนี้ต้องกลับทรุดโทรมเป็นมะเร็งและไม่แข็งแรง

คำถาม: ทางการแพทย์แผนปัจจุบันมันมีผลทางเรื่องอาหารมากน้อยแค่ไหน

นพ.พรเลิศ    ไม่มีการพูดถึงชัดเจนในเรื่องอาหารของมะเร็ง  ส่วนใหญ่จะพูดถึงเรื่องปริมาณของพลังงาน ปริมาณโปรตีนและไขมัน แต่ไม่ได้พูดว่ากินหรือไม่ได้กินอะไร  อย่างน้อยต้องกินพอที่จะไม่ให้ขาดอาหาร ตัวมะเร็งเองเป็นประเภทใช้พลังงานเยอะแล้วจะแย่งอาหารจากร่างกายไป ถ้าจะสู้กับมะเร็งอย่างน้อยต้องรักษาตัวเอง อย่าให้ถึงขั้นขาดอาหาร ต้องเดินตามสายกลาง

คำถาม : การดูแลสุขภาพกรณีผู้ป่วยมะเร็งหรือกรณีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานจะทำอย่างไรให้มีความสุข

นพ.ธนเดช    ในบริบทของบุคลากรทางการแพทย์ มองว่า ในลักษณะของการเจ็บป่วย เป็นการป่วยแค่ทางกาย ถ้าเราสามารถอยู่กับมันและยอมรับมัน ทำทุกๆ วันให้มีความสุขคิดว่าคนรอบข้างก็จะมีความสุขตามไปด้วย

นพ.พรเลิศ    ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังและโรคระยะสุดท้าย สิ่งที่ควรทำคือ คนที่เป็นคนป่วยหรือญาติจะเป็นผู้เชี่ยวชาญมากกว่าแพทย์ พยาบาล ทำอย่างไรให้เขารู้ว่าเขาต้องการอะไร อะไรคือความสุขของเขา อะไรคือความหมายของเขา เราก็มีหน้าที่ไปสนับสนุนเขา

หลวงตา      ต้องบอกว่า ขอบคุณที่เป็นมะเร็ง  เพราะในวิกฤตก็มีโอกาสพัฒนาจิตใจเรา คนเราส่วนใหญ่คิดแต่ทำมาหากิน แต่อยู่ดีๆก็เป็นมะเร็ง เราจะทำอย่างไรที่คนเขาว่าแย่ คนเขาว่าเป็นแล้วต้องตาย ไม่มีโอกาสที่จะพลิกชีวิตใหม่ ถ้าหลวงตาไม่เป็นมะเร็งก็จะไม่มีอโรคยาศาลา กระทั่งว่าวันหนึ่งกำลังจะตาย เราก็กำหนดภาวนา ให้จิตเราพ้นจากทุกข์ และต้องขอบคุณที่เป็นมะเร็งด้วย พิจารณากาย พิจารณาจิตเรา ลงสู่ไตรลักษณ์ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีตัวตน มะเร็งมันก็ไม่มีตัวตน พอเราพิจารณาความไม่มีตัวตนจะเอาอะไรมาเป็นมะเร็ง จะเอามาเจ็บปวด อันนี้มันลึกลับและซับซ้อนมาก ขอให้ทุกคนตั้งใจปฏิบัติแล้วจะรู้ว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้าประเสริฐยิ่งกว่าอะไรในโลกทั้งหมด สามารถมารักษาตัวเราก็ได้ รักษาคนอื่นก็ได้ รักษาประเทศไทยก็ได้

โมบายแอปพลิเคชัน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้​ 

 

appstore

 

playstore

สามารถติดต่อเราผ่าน Line

ได้แล้ววันนี้

 

สแกนเเพื่อเพื่มเพื่อน 

เพิ่มเพื่อน

ติดตาม กรมการแพทย์แผนไทยฯ

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่ 

 

facebook icon youtube icon youtube icon 02

old web

logo DTAM 2017
กรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก

เลขที่ 88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000  

 

โทรศัพท์ : (+66) 0-2591-7007

โทรสาร : (+66) 0-2591-7007